คุณ @Sangchoke Sibunruang ถามมาบน facebook/uxinthai ว่า

บังเอิญได้เข้าไปดูหน้าเวปขายของสองแห่ง OLX กับ Kaidee เห็นอะไรเหมือนผมไหมครับ = =……..

พร้อมภาพประกอบ

ภาพหน้าแรกของ olx.com

ภาพหน้าแรกของ kaiaked.com

ทำให้เกิดการคุยกันใน comment ที่ผมมองว่าน่าจะเก็บเอาไว้ครับ

@Sangchoke ผมรู้สึกว่า OLX เข้าใจง่ายกว่าเยอะเลย… ชัดเจนตรงไปตรงมา แต่ทางขายดี ผมหาทางเข้าไปหาซื้อของไม่ได้.. ถ้าไม่เลือกพื้นที่ก่อน เหมือนกึ่งๆ จะอยากให้สมัครสมาชิกก่อนลองใช้ด้วย - -‘/

ผมรู้สึกไปเองรึนี่ Orz 4 like

@Geawza ไม่อยากให้โทษคนออกแบบค่ะ การออกแบบ UX มีหลายปัจจัย มองในแง่ดี 1.Business Goal เค้าเน้นที่คนมาขาย 2.ส่วนใหญ่ผู้ที่ Landing หน้า HP อาจจะเป็นผู้ที่มาขาย ส่วนคนซื้อมักจะเซิร์สแล้วเข้าไปเจอ product page เลยมากกว่า 3.etc. 7 like

@Amarin ผมกลับชอบนะครับเวบ olx เนี่ยผมว่าตอบโจทย์ได้ดีพอสมควรในฐานะผู้ใช้งานที่เคยเข้าไปโพสขายมาสามสี่ครั้ง เรื่อง. User experience ที่ทำได้อย่างไม่ติดขัดอะไรเวลาใช้งาน

ผมว่าบางครั้งในฐานะคนออกแบบเนี่ยเราคิดแทนผู้ใช้งานมากไปในบางครั้ง ความเขื่อหรือทฤษฎีต่างๆ มันจะเวิรคหรือไม่ขึ้นอยู่กับบริบทเป็นสำคัญมากกว่าครับ 8 like

@Durongrit จากการปล่อยของออกขายจริงๆ ของผม + ถามจากผู้ซื้อ OLX ตอบโจทย์นี้ได้ Effective มากครับ 4 like

@Apirak ทั้ง OXL และ Kaidee ต่างทำ UX มาหนักทั้งคู่ครับ ดังนั้นเค้าจึงตอบโจทย์ของผู้ใช้ได้ดีอย่างผู้เชียวชาญ การที่เอา “ตัวกรองสินค้าและวัตถุประสงค์” มาไว้เป็นหน้าแรกแทนที่จะเอาไว้หลังจากผู้ใช้เห็นสินค้า ช่วยให้ผู้ใช้ที่มีความต้องการชัดเจนสามารถทำงานได้อย่างรวดเร็วและราบรื่น

ผู้ใช้ที่มีความต้องการชัดเจน เค้าจะรู้ว่าเว็บนี้คืออะไร ไม่ต้องเอาสินค้ามาแสดงที่หน้าแรกก็รู้ว่าเว็บนี้คือเว็บซื้อขายสินค้า เค้าจะรู้ว่าเค้าต้องการขายหรือซื้อดังนั้นก็ให้เลือกตั้งแต่หน้าแรกเลย เค้าจะรู้ว่าอยากซื้อขายใกล้บ้านก่อนก็เอามาให้เลือกก่อน

จะเห็นว่าทั้งสองเว็บเลยตอบโจทย์ “คนที่มีความต้องการชัดเจน” ได้ดีมากๆ แต่ก็เป็นความจริงที่หลายคนรู้สึกขัดใจกับหน้าแรกแบบนี้ ผมเดาว่ามาจากสองสาเหตุ

  1. อย่างแรกคือตอนเราเข้ามาวิเคราะห์เราไม่ได้รู้สึกอยากซื้อหรืออยากขาย ดังนั้นเราอยากจะดูภาพรวมว่าเว็บนี้ทำอะไร ซึ่งหน้าแรกไม่ได้ตอบโจทย์นี้
  2. หน้าแรกไม่เหมือนเว็บขายของอื่นๆ ที่เอาสินค้าขึ้นมาแสดง ทำให้ “ขาจร” ไม่มีแรงที่จะทำอะไรต่อ และอาจจะปิดเว็บนี้ไปเลย

สิ่งนี้เกิดจากการที่ Marketing ทำงานร่วมกับ UX โดย Marketing กำหนดทิศทางว่ากลุ่มผู้ใช้ของเราคือคนที่ “ชัดเจน” ว่าจะซื้อหรือขายโดยไม่สนใจพวก “ขาจร” ต่างจากเว็บ e-commerce ทั่วไป ที่มีกลุ่ม “ขาจร” ค่อนข้างมาก นับว่าเป็นการตัดสินใจที่กล้าหาญมากครับ น่าชื่นชม

ถ้า Marketing คุยกับ UX แล้วจับปลาสองมือไม่กล้าปล่อยตัวใดตัวหนึ่งเว็บแบบนี้คงไม่ออกมาครับ แล้วสุดท้าย UX ก็จะจัดหน้าแรกมี filter ขนาดใหญ่อยู่ด้านบน แล้วด้านล่างแสดงรายการสินค้าเอาไว้เพื่อเอาใจทั้งผู้ใช้ที่ “ชัดเจน” และ “ขาจร” ซึ่งทำให้เว็บเปิดได้ช้าแถมกินทรัพยากร server ด้วย

Marketing Direction สำคัญกับงาน UX มากๆ 26 like

เป็นกรณีศึกษาที่น่าสนใจครับ ตัวอย่างของสองเว็บนี้เค้าเริ่มเปลี่ยน Persona จากใครก็ได้ กลายเป็นคนที่มีวัตถุประสงค์ชัดเจน ทำให้กระบวนการออกแบบไม่ปกติ ได้ผลออกมาไม่ปกติ แต่ตอบโจทย์ผู้ใช้ได้ดีครับ